เมนู

เรียกว่า ปรากฏทุกข์บ้าง. ทุกข์แม้ทั้งหมดมีชาติเป็นต้น อันมาแล้วในวิภังค์
แห่งทุกขสัจจะ เว้นทุกขทุกข์ที่เหลือ ชื่อว่า ปริยายทุกข์ เพราะเป็นวัตถุ
(ที่อาศัยเกิด) แห่งทุกข์นั้น ๆ. ทุกขทุกข์ ชื่อว่า นิปปริยายทุกข์.
ในบรรดาทุกข์เหล่านั้น พึงกล่าวทุกขอริยสัจตั้งไว้ใน 2 บท นี้ คือ
ปริยายทุกข์ และนิปปริยายทุกข์ ก็ธรรมดาอริยสัจนี้ย่อมมาในพระบาลีโดย
ย่อบ้าง โดยพิสดารบ้าง ในที่มาโดยย่อควรกล่าวโดยย่อก็ได้ โดยพิสดาร
ก็ได้ แต่ในที่มาโดยพิสดารสมควรกล่าวโดยพิสดารเท่านั้น ไม่ควรกล่าวโดยย่อ
ในที่นี้ทุกข์นี้นั้นมาโดยพิสดารดังนั้น พึงกล่าวโดยพิสดารอย่างเดียว ฉะนั้น
คำนี้ใด ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้มีอาทิว่า พึงทราบชาติ พึงทราบอรรถของชาติ
เป็นทุกข์ เพราะถือเอาพระบาลีในนิเทศวารมีอาทิว่า ตตฺถ กตมํ ทุกฺขํ
อริยสจฺจํ ชาติปิ ทุกฺขา
ในอริยสัจ 4 นั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้
ชาติก็เป็นทุกข์ ดังนี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติโดยสมมติกถา

(บาลีข้อ 146)
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น พึงทราบคำว่า ชาติ เป็นต้นก่อน ก็บัณฑิต
พึงทราบชาติด้วยสามารถแห่งบทภาชนีย์นี้ว่า ตตฺถ กตฺมา ชาติ ยา เตสํ
สตฺตานํ ตมฺหิ ตมฺหิ สตฺตนิกาเย ชาติ
ในทุกขอริยสัจนั้น
ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม...ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์นั้น ๆ
อันใด... เป็นต้น. อรรถวรรณนาในนิเทศแห่งชาตินั้น ดังต่อไปนี้.
คำว่า เตสํ เตสํ สตฺตานํ (ของสัตว์นั้น ๆ) นี้เป็นอรรถแสดง
ถึงความทั่วไปแก่สัตว์มิใช่น้อย โดยย่อ คือ เมื่อกล่าวคำอย่างนี้ว่า ความเกิด
ของเทวทัต ความเกิดของโสมทัต ดังนี้ แม้ทั้งวัน สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่ถึง

การกำหนดถือเอาได้ ย่อมไม่สำเร็จการแสดงในสัตว์อื่น ๆ ได้ทั้งหมด แต่ด้วย
สองบทนี้ สัตว์บางชนิดย่อมไม่เป็นอันกำหนดถือเอาได้ ย่อมไม่สำเร็จการแสดง
ในสัตว์อื่นๆ อย่างไรก็หามิได้ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ยา เตสํ เตสํ สตฺตา
นํ
(ของสัตว์เหล่านั้น ๆ อันใด). คำว่า ตมฺหิ ตมฺหิ (นั้น ๆ) นี้เป็นเนื้อความ
แสดงความทั่วไปของสัตว์นิกายมิใช่น้อยด้วยสามารถแห่งคติและชาติ. คำว่า
สตฺตนิกาเย ได้แก่ ในหมู่สัตว์ คือ ในกลุ่มสัตว์ ในประชุมสัตว์. บทว่า
ชาติ คือ ศัพท์ว่าชาตินี้มีอรรถเป็นอเนก.
จริงอย่างนั้น ศัพท์ว่าชาตินี้ มาในภพ ในประโยคนี้ ว่า เอกมฺปิ
ชาตึ เทฺวปิ ชาติโย
(ย่อมระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง) เป็นต้น1
มาในนิกาย (หมู่) ในประโยคนี้ว่า อตฺถิ วิสาเข นิคนฺถา นาม
สมณชาติ
(ดูก่อนนางวิสาขา สมณนิกายหนึ่งมีชื่อว่า นิครนถ์)2 มาใน
บัญญัติ
ในประโยคนี้ว่า ติริยา นาม ติณชาติ นาภิยา อุคฺคนฺตฺวา
นภํ อาหจฺจ ฐิตา อโหสิ
(ติณชาติชื่อ ติริยา ขึ้นจากนาภีแล้วตั้งจด
ท้องฟ้า) มาในสังขตลักษณะ ในประโยคนี้ว่า ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ
สงฺคหิตา
(ชาติสงเคราะห์ด้วยขันธ์ 2)3 มาในปฏิสนธิ ในประโยคนี้ว่า
ยํ ภิกฺขเว มาตุ กุจฺฉิสฺมึ ปฐมํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ ปฐมํ วิญฺญาณํ
ปาตุภูตํ ตทุปาทาย สาวสฺส ชาติ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใด
เกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว ปฏิสนธินั้นนั่นแหละ
อาศัยจิตที่เกิดขึ้นและวิญญาณนั้น)4 มาในประสูติในประโยคนี้ว่า สมฺปติ
ชาโต โข อานนฺท โพธิสตฺโต
(ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ในบัดดล
ที่ประสูติแล)5 มาในตระกูล ในประโยคนี้ว่า อนุปกฏฺโฐ ชาติวาเทน
1. ที. สี. เล่ม 9 27/17 2. อํ. ติก เล่ม 20 510/ 3. อภิ. ธาตุ เล่ม 36/14
4. วิ. มหาวคฺค เล่ม 4 141/187 5. ม. อุ. เล่ม 14 377/253

(ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงตระกูล)1 มาในอริยศีล ในประโยคนี้ว่า
ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต (ดูก่อนน้องหญิง จำเดิมแต่เรา
เกิดแล้วโดยอริยชาติ).2
แต่ศัพท์ชาติในอธิการนี้ ย่อมควรในขันธ์ที่เกิดครั้งแรกพร้อมทั้งวิการ
เพราะฉะนั้น คำว่าชาตินี้ ในอาการนี้จึงเป็นรูปเฉพาะตนโดยสภาวะว่า ความ
เกิดของสัตว์ผู้กำลังเกิด.
บทที่ทรงเพิ่มด้วยอุปสรรคว่า สัญชาติ ด้วยอำนาจ
แห่งความเกิดพร้อม. ชื่อว่า โอกกันติ ด้วยอำนาจความหยั่งลง. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ชาติ ด้วยอรรถว่าการเกิด ชาตินั้นประกอบไว้ด้วยสามารถแห่ง
สัตว์ผู้มีอายตนะบกพร่อง ชื่อว่า สัญชาติ ด้วยอรรถว่าเกิดพร้อม สัญชาติ
นั้นประกอบไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้มีอายตนะสมบูรณ์. ชื่อว่า โอกกันติ
ด้วยอรรถว่าหยั่งลง โอกกันตินั้นประกอบไว้ด้วยอำนาจสัตว์ผู้เกิดในไข่และ
เกิดในครรภ์ เพราะสัตว์เหล่านั้นย่อมหยั่งลงสู่ฟองไข่และมดลูก ก็เมื่อหยั่งลง
ย่อมถือปฏิสนธิ ดุจสัตว์ทั้งหลายผู้เข้าไปอยู่. ชื่อว่า อภินิพพัตติ ด้วยอรรถว่า
บังเกิดยิ่ง อภินิพพัตตินั้น ประกอบไว้ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในเถ้าไคล
และโอปปาติกสัตว์ เพราะสัตว์เหล่านั้นย่อมเกิด ปรากฏทันที.
นี้เป็นสมมติกถา ก่อน.

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติโดยปรมัตถกถา


บัดนี้ เป็นกถาว่าด้วยปรมัตถ์ จริงอยู่ ขันธ์ทั้งหลายนั่นเอง ย่อม
ปรากฏโดยปรมัตถ์ ไม่ใช่สัตว์ และในพระบาลีนั้น บทว่า ขนฺธานํ (แห่ง
ขันธ์ทั้งหลาย) พึงทราบการถือเอาขันธ์หนึ่งในเอกโวการภพ ขันธ์สี่ในจตุโว-
1. ม. ม. เล่ม 13 649/594 2. ม. ม. เล่ม 13 531/485